เขียนได้ลายมือสวย
แนวทางคัดลายมือตามแบบตัวอักษรของกระทรวงศึกษาธิการ
จุดมุ่งหมายของการคัดลายมือ
๑. เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมือ ตา
ให้คล่องแคล่วในการเขียน
๒.
เพื่อเขียนตัวอักษรไทยถูกต้องตามหลักเกณฑ์
อย่างประณีต
สะอาดเป็นระเบียบ ชัดเจน รวดเร็ว
และอ่านเข้าใจง่าย
๓.
เพื่อให้เกิดความชำนาญจากการคัดไปสู่การเขียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
๕. เพื่อให้เกิดสมาธิการทำงาน มีวินัยในตนเอง
รับผิดชอบในการปฏิบัติงานให้สำเร็จ
ลักษณะการนั่งที่ถูกวิธี
ก่อนฝึกคัดลายมือต้องฝึกให้นักเรียนนั่งอย่างถูกวิธีก่อนฝึกคัดลายมือ ดังนี้
๑. นักเรียนต้องหันหน้าเข้าหาโต๊ะ การนั่งเอียงอาจทำให้หลังคด
๒. แขนทั้ง ๒ ข้างวางอยู่บนโต๊ะ
ประมาณ ๓ ใน ๔ ของความยาวระหว่างศอกกับข้อมือพาดไว้กับขอบโต๊ะ หากไม่ทำเช่นนี้ อาจทำให้กระดูกสันหลังคด
๓. กระดาษต้องวางไว้หน้าผู้เขียน การวางกระดาษไม่ตรง ทำให้ผู้เขียนต้องเอียงคอ สายตาทำงานมาก
อาจทำให้กระดูกสันหลังคด
๔.
ส่วนล่างของกระดาษทำมุมกับขอบโต๊ะ ๓๐ องศา
๕.
แขนของมือที่เขียนต้องทำมุมที่เหมาะสมกับตัวอักษร
ข้อศอกต้องไม่กางออกหรือแนบตัวมากเกินไป
๖. การวางมือ ฝ่ามือคว่ำลง
มืองอ ทำมุม ๔๕ องศากับข้อมือ นิ้วกลาง
รองรับดินสอหรือปากกา
นิ้วชี้กับนิ้วหัวแม่มือจะประคองดินสอ หรือปากการ่วมกับนิ้วกกลาง มือจะพักอยู่บนนิ้วนางและนิ้วก้อย
๘. จับดินสอหรือปากกาพอเหมาะ ไม่แน่นเกินไป
นิ้วที่จับโค้งเล็กน้อย
๙. ในขณะที่คัดลายมือ แขน
มือ และนิ้วจะต้องเคลื่อนไหวให้สัมพันธ์กัน
๑๐.
การเคลื่อนไหวของดินสอหรือปากกาในขณะที่คัดแบ่งออกไปเป็นหน่วยๆ
แต่ละหน่วยมีระยะหยุดเป็นระยะ
ไม่เคลื่อนไหวติดต่อกันโดยตลอด
ตัวอักษรแบบกระทรวงศึกษาธิการ กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ดัดแปลงรูปแบบตัวอักษรของขุนสัมฤทธิ์วรรณการ
เพื่อทำเป็นแบบฝึกหัดคัดลายมือสำหรับใช้กับนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษาทั่วประเทศตั้งแต่ปี
พ.ศ. ๒๕๒๐
วิธีการคัดพยัญชนะไทยแบบหัวกลมตัวมนแบบกระทรวงศึกษาธิการ
๑.
สัดส่วนของพยัญชนะ กำหนดเป็น ๔ ส่วน ดังนี้
๒.
หัวกลมมีขนาด ๑ ส่วน
๓. หัวของ ข ช
เป็นหัวขมวดหยักหน้าบน และ ฅ ฆ ซ ฑ
เป็นหัวหยัก – หัวโค้งหน้าบน
๔. เส้นที่ลากจากหัวตรงในแนวดิ่ง ยกเว้น ค ฅ จ ฐ ฒ ด ต ล ศ ส เป็นเส้นโค้งเฉียง
๕. เส้นบนโค้งมน มีขนาด ๑ ส่วน
๖. เส้นล่างตรงแนวเดียวกับเส้นบรรทัด หรือเป็นเส้นโค้งเล็กน้อย
๗. หาง ป ฝ ฟ เป็นเส้นตรงยาวไม่เกิน ๓
ส่วน
๘. หางอักษรอื่นเป็นเส้นโค้งหงาย ยาวไม่เกิน ๓ ส่วน
๙. ส่วนล่างของ ฎ ฏ ฐ เลยตัวอักษรลงมา ๒
ส่วน และกว้างเท่าตัวหลัง
๑๐. เชิง ญ อยู่ในส่วนที่ ๑ ล่าง และกว้างเท่าตัวหลัง
๑๑. ไส้ ษ อยู่ในส่วนที่ ๒
๑๒. ขนาดของตัวอักษรโดยทั่วไป
มีความกว้างเป็นครึ่งหนึ่งของความสูงไม่รวมหางและชิง ยกเว้น
ข ฃ ช ซ กว้างเป็นครึ่งหนึ่งของตัวอื่นๆ
และตัวอักษรที่เหมือน ๒ ตัวติดกัน
ได้แก่ ฌ ญ ฒ ณ
ตัวหน้ากว้างครึ่งหนึ่งของความสูง
ตัวหลังกว้างครึ่งหนึ่งของตัวหน้า
๑๓. สระ ไ- ใ-
โ- สูงเลยตัวอักษรขึ้นไปไม่เกิน ๓
ส่วน
๑๔. สระ -ุ -ู อยู่ใต้ตัวอักษรไม่เกิน ๓ ส่วน
๑๕.
สระและเครื่องหมายบนทุกตัวอยู่ที่ส่วน ๒ และ ๓
๑๖. ส่วนขวาสุดของสระ วรรณยุกต์ และเครื่องหมายต่างๆ
อยู่ตรงกับเส้นขวาสุดของพยัญชนะที่เกาะ
ยกเว้นถ้าอยู่กับพยัญชนะที่มีหาง
ได้แก่ ป ฝ ฟ ให้เขียนสระ วรรณยุกต์ และเครื่องหมายเยื้องมาข้างหน้าไม่ทับหางพยัญชนะ
๑๗. สระ อี
ลากขีดลงแตะปลายสระ -ิ -ี
๑๘. สระ –ื เขียนเหมือนสระ –ี เพิ่ม ๑ ขีดด้านใน –ี -ื
๑๙. สระ –ื มีวรรณยุกต์ให้ใส่วรรณยุกต์ไว้ตรงกลาง -ื่
๑.หลักการเขียนเส้นพื้นฐานตัวพยัญชนะไทย
๑.๑ การเขียนเส้นดิ่ง
๑.๒
การเขียนเส้นตั้ง
๑.๓
การเขียนเส้นทแยงลง
๑.๔
การเขียนเส้นทแยงขึ้น
๑.๕
การเขียนเส้นทแยงขึ้นและเส้นทแยงลงต่อเนื่องกัน
๑.๖
การเขียนเส้นแนวนอน
๑.๗ การเขียนเส้นโค้งคว่ำ
๑.๘ การเขียนเส้นโค้งหงาย
๑.๙
การเขียนเส้นวงกลมทวนเข็มนาฬิกา
๑.๑๐
การเขียนเส้นวงกลมตามเข็มนาฬิกา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น