การบันทึกความรู้
บันทึกความรู้ คือ ข้อความที่จดบันทึกจากการอ่าน การฟัง
หรือการดูสิ่งที่เป็นความรู้
เพื่อช่วยเตือนความจำหรือเก็บเป็นข้อมูลไว้อ้างอิงในงานเขียนหรือในโอกาสต่อไป
วิธีการบันทึกข้อมูลจากการอ่าน มีขั้นตอนดังนี้
๑. ส่วนที่
๑
ให้บันทึกหัวข้อเรื่อง, ชื่อหนังสือ, ผู้เขียน, หมายเลขหน้าของหนังสือ และแหล่งที่มา
(ถ้าบันทึกจากการฟังหรือการดู
ให้บันทึกวันที่, หัวข้อเรื่อง, ชื่อผู้บรรยาย และสถานที่)
หัวข้อเรื่อง
: …………………………………….………………………………………………………………………..
จากหนังสือ : ……………………………………………………………………………………………………………..
ผู้แต่ง : …………………………………………….………………………………………………………………………..
สำนักพิมพ์ : ……………………………………………………………………………………………………………..
ปีที่พิมพ์ : …………….…………………………………………………………………………………………………..
หน้า : ………………………………………………………………………………………………………………………..
วันที่บันทึก : ……………………………..………………………………………………………..……………………..
|
๒. ส่วนที่
๒ บันทึกสาระสำคัญที่เป็นความรู้ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
๒.๑)
ทำความเข้าใจเรื่องที่จดบันทึกให้ท่องแท้
๒.๒) บันทึกเฉพาะส่วนสำคัญ เช่น
ใคร ทำอะไร ที่ไหน
เมื่อไร อย่างไร
๒.๓) เรียบเรียงความคิด ลำดับเรื่องหรือเหตุการณ์ก่อนหลัง เพื่อไม่ให้สับสน
๒.๔)
ใช้อักษรย่อในการบันทึกเพื่อความรวดเร็ว เช่น ชั่วโมง – ชม., โรงเรียน – รร.
๒.๕)
ใช้สำนวนของตนเองเป็นภาษาที่เข้าใจง่ายกระชับ
ตัวอย่างการเขียนบันทึกความรู้
ตัวอย่างที่ ๑
หัวข้อเรื่อง
: ทำความเข้าใจกับโรคเอดส์
จากหนังสือ : หนังสือเรียน
รายวิชาพื้นฐานภาษาไทย ชุด ภาษาเพื่อชีวิต ภาษาพาที ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ผู้แต่ง : กระทรวงศึกษาธิการ
สำนักพิมพ์ : องค์การค้าของ สกสค.
ปีที่พิมพ์ : ๒๕๕๙
หน้า : ๑๓๓ – ๑๓๔
วันที่บันทึก : ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๐
เมื่อเชื้อไวรัสเอดส์
(H I V)
เข้าสู่ร่างกายจะฟักตัวนาน ๑ ปี
- ๑๐ ปี หรือมากกว่า ระยะที่เป็นจะไม่ปรากฏอาการ เมื่อเป็นมาก ๆ
ภูมิคุมกันร่างกายจะเสื่อมลง ๆ ติดเชื้อโรคง่าย โรคที่มักเป็นเช่น
เชื้อราในปาก โรคปอดอักเสบ ฯลฯ
เราไม่ควรรังเกียจผู้ป่วยโรคนี้ แต่ควรดูแลตัวเองให้ปลอดภัย ไม่ให้ติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ทางเลือด การตรวจเลือดจะทำให้ทราบว่าเป็นโรคนี้หรือไม่
|
ตัวอย่างที่ ๒
หัวข้อเรื่อง
: วิธีกำจัดยุงลาย
จากหนังสือ : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
ฉบับวันที่ ๒๐ พฤษภาคม
๒๕๕๐
วันที่บันทึก : ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐
ยุงลายเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก มักเกิดกับเด็ก ๆ
ถ้าไม่อยากเป็นไข้เลือดออก ต้องทำลายแหล่งที่เกิดลูกน้ำยุงลายหรือขจัดแหล่งน้ำที่ขัง เทน้ำที่ขังอยู่ภายในภาชนะต่าง ๆ
ปิดฝาตุ่มน้ำเปลี่ยนน้ำในแจกันดอกไม่บ่อย ๆ
ข้อคิดหรือประโยชน์ที่ได้รับ
รู้จักวิธีกำจัดยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก
|
อ้างอิง :
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.
๒๕๕๙. การบันทึกความรู้ หน้า ๑๖๙ -
๑๗๐. กรุงเทพฯ : องค์การค้า สกสค.
สุระ ดามาพงษ์และคณะ. การบันทึกความรู้ หน้า ๑๙๔
- ๑๙๕. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น