วันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

การเขียนย่อความ

                                                 การเขียนย่อความ
หลักในการเขียนย่อความ ดังนี้
          ๑. อ่านเรื่องที่จะย่อความให้จบอย่างน้อย ๒ ครั้ง เพื่อให้ทราบว่าเรื่องนั้นกล่าวถึงใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร และผลเป็นอย่างไร
          ๒. บันทึกใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน เเล้วนำมาเขียนเรียบเรียงใหม่ด้วยสำนวนของตนเอง
          ๓. อ่านทบทวนใจความสำคัญที่เขียนเรียบเรียงแล้ว จากนั้นแก้ไขให้สมบูรณ์ โดยตัดข้อความที่ซ้ำซ้อนกันออก เพื่อให้เนื้อหากระชับ และเชื่อมข้อความให้สัมพันธ์กันตั้งเเต่ต้นจนจบ
          ๔. เขียนย่อความให้สมบูรณ์ โดยเขียนแบบขึ้นต้นของย่อความตามรูปแบบของประเภทข้อความนั้น ๆ เช่น การย่อนิทาน การย่อบทความ
          ๕. การเขียนย่อความไม่นิยมใช้สรรพยามบุรุษที่ ๑ และสรรพนามบุรุษที่ ๒ คือ ฉัน คุณ ท่าน แต่จะใช้สรรพนามบุรุษที่ ๓ เช่น เขา และไม่เขียนโดยใช้อักษรย่อ นอกจากนี้ หากมีการใช้คำราชาศัพท์ต้องเขียนให้ถูกต้อง ไม่ควรตัดทอน

รูปแบบการเขียนย่อความ
๑. การย่อนิทาน นิยาย พงศาวดาร ให้บอกประเภท ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ที่มาของเรื่องเท่าที่ทราบ เช่น


 
ย่อนิทานเรื่อง.....................................ของ.........................................................จาก.............................................
ความว่า.................................................................................................................................................................

๒. ย่อคำสอน คำกล่าวปาฐกถา ให้บอกประเภท ชื่อเรื่อง เจ้าของเรื่อง ผู้ฟัง สถานที่ และเวลาเท่าที่จะทราบได้ เช่น
ย่อคำสอนเรื่อง.....................................ของ.......................................................จาก.............................................
หน้า..................................................................................ความว่า.......................................................................

๓. การเขียนบทความทางวิชาการ ให้บอกประเภท ชื่อเรื่อง เจ้าของเรื่อง ที่มาของเรื่อง เช่น

ย่อบทความเรื่อง.....................................ของ......................................................จาก..........................................
ฉบับที่..................................................................................หน้า.....................................ความว่า.....................
๔. ย่อบันทึกเหตุการณ์(จดหมายเหตุ)
ย่อบันทึก(จดหมายเหตุ).....................................ของ........................................ในโอกาส...................................
ฉบับที่...............................................................................เรื่อง........................................ความว่า.....................
๕. การเขียนย่อข่าว เช่น

ย่อข่าวเรื่อง................................................................... จากหนังสือพิมพ์........................................................
ฉบับวันที่.........................................................................................................................ความว่า.....................

1 ความคิดเห็น:

  1. ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก

    ตอบลบ

สื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การผันวรรณยุกต์

  สื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง การผันวรรณยุกต์ คู่มือการใช้สื่อ  https://fliphtml5.com/bookcase/pjonq ดาวน์โหลดสื่อได้ที่  https://...