วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2563

สื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การผันวรรณยุกต์

 

สื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง การผันวรรณยุกต์

คู่มือการใช้สื่อ https://fliphtml5.com/bookcase/pjonq



ดาวน์โหลดสื่อได้ที่ https://drive.google.com/drive/u/0/folders/1Wejcqs0754L9CKsjnjDAwFyjZ7EyyVTg


สื่อการสอนชิ้นนี้คุณครูได้จัดทำขึ้นเพื่อสอนซ่อมเสริมให้แก่นักเรียนในช่วงเย็นค่ะ 

ในสื่อการสอนนอกจากจะมีเนื้อหาเรื่อง การผันวรรณยุกต์ แล้วยังมีแบบทดสอบ และเกมให้เด็ก ๆ เล่นด้วยนะคะ  เด็กจะชื่นชอบการเล่นเกมมากที่สุด ครูจึงนำเกมใส่ลงไปในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ก็นับว่าได้ผลค่ะ นักเรียนมีความสนุกเมื่อได้เล่นเกมในบทเรียนค่ะ





วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2563

สื่อลูกเต๋าประสมอักษร

สื่อลูกเต๋าประสมอักษร

คู่มือ 






จุดมุ่งหมายในการจัดท ำสื่อกิจกรรม
๑. เพื่อใช้เป็นสื่อประกอบกิจกรรมการเรียนการสอน การสร้างค ำในภาษาไทย
๒. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนรู้และเข้าใจถึงวิธีการสร้างคำในภาษาไทย รวมไปถึงวิธีการประสมคำ
๓. เพื่อเป็นการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน ตลอดจนการสอนของครูผู้สอน
ซึ่งเป็นแนวทางในการปรับปรุงการเรียนการสอนให้ดีขึ้น
๔. เพื่อเป็นสื่อสร้างแรงจูงใจ และเร้าความสนใจของผู้เรียน
๕. ช่วยให้เกิดความเพลินเพลิน และผ่อนคลายความตึงเครียดในการเรียน


กติกาการเล่น

๑. นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น ๔ กลุ่ม กลุ่มละเท่า ๆ กัน โดยจัดนักเรียนชายและนักเรียนหญิงคละกันเพื่อป้องกันการจับกลุ่มกันระหว่างนักเรียนชาย และนักเรียนหญิง
๒. ครูแนะนำให้นักเรียนแยกลูกเต๋าที่เป็นอักษร และ สระ ออกจากกัน เพื่อความสะดวกในการประสมค าและป้องกันการสับสนระหว่างการเล่น
๓. ครูยกตัวอย่างการประสมอักษรให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่าง ๑ คำ เช่นคำว่า ไทย, ปรากฏ, หนังสือ, สตางค์ เป็นต้น เพื่อให้นักเรียนเข้าใจถึงวิธีการในการประสมคำจากลูกเต๋า
๔. ครูเริ่มกิจกรรมโดยการชี้แจงรายละเอียดการเล่นในแต่ละกิจกรรมโดยเริ่มจากกิจกรรมที่ ๑ ถึง กิจกรรมที่ ๕ ตามลำดับ
๕. เมื่อทำกิจกรรมเรียบร้อยแล้ว ครูผู้สอนจึงทำการสรุปผลการทำกิจกรรมและมอบของรางวัลแก่ทีมผู้ชนะพร้อมกับบอกปประโยชน์ของการทำกิจกรรมประสมคำด้วยลูกเต๋าประสมอักษร

วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

การจัดการเรียนการเรียนรู้เรื่อง คำควบกล้ำ


การจัดการเรียนการเรียนรู้เรื่อง คำควบกล้ำ
เพลิดเพลินมาค้นคำกันช่างสุขสันต์ มันช่างสุขสันต์
หลังจากที่นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องคำควบกล้ำไปแล้ว ต่างก็ลงมือแข็งขันช่วยกันหาคำ  นักเรียนสามารถสืบค้นคำได้จากแหล่งต่าง ๆ  ไม่ว่าจะเป็นพจนานุกรม  หนังสือ  บัตรคำศัพท์  โทรศัพท์

เอาคำไหนดีหนอ

 ไหน ๆ ได้คำว่าอะไรกันบ้าง



คำไหนก็น่าสนใจ


ได้หลายคำหรือยัง

 คำนี้ก็น่าสนใจนะ



หาได้กี่คำแล้วจ้าเพื่อน ๆ

 เอาคำนี้ก็แล้วกันครับ



เอ........คำไหนดีหนอออ

คำนี้ก็น่าสนใจ

หรือคำนี้ดีหนออ


เมื่อนักเรียนเขียนคำลงบนบัตรคำแล้ว ก็ตรวจสอบความถูกต้อง แล้วนำมาทำเป็นป้ายเพื่อติดป้ายนิเทศภายในชั้นเรียน




สุดท้ายติดบนป้ายนิเทศ สามารถไปอ่านกันได้เลยนะคะ ยังไม่เสร็จดีค่ะ วันหลังจะเอามุมอื่น ๆ มาฝากนะคะ

วันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

การเลือกอ่านหนังสือที่มีคุณค่า

การเลือกอ่านหนังสือ
แบบที่ ๑
           ๑. ส่งเสริมความรู้และเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตให้มีความเจริญในด้านต่าง ๆ
           ๒. ส่งเสริมสติปัญญา ให้พัฒนาตนเองให้รู้จักคิด  สังเกต  มีเหตุผล สามารถนำความรู้จากการอ่านมาใช้ประโยชน์ทั้งแก่ตนเอง  และแก่่ส่วนรวม  รวมทั้งแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้
           ๓. ส่งเสริมความเข้าใจทางภาษา และการใช้ภาษาที่ถูกต้องเหมาะสมตามวัยและสติปัญญา
          ๔. ส่งเสริมการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง  ช่วยให้เกิดความสนใจที่จะอ่านและเรียนรู้

อ้างอิง
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.  การเลือกหนังสืออ่าน หนังสือเรียนรายวิชาภาษาไทย ชุด ภาษาเพื่อชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ หน้า ๑๗๑.  กรุงเทพฯ : องค์การค้า สกสค.
https://www.youtube.com/watch?v=gwiHxH5bUlo

แบบที่ ๒
        ๑.  เลือกหนังสือที่มีสาระเรื่องราวตรงกับความต้องการหรือความจำเป็นที่ต้องอ่าน
        ๒.  เลือกหนังสือที่ดีมีคุณลักษณะ  ดังนี้
              ๒.๑ หนังสือที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่าดี
              ๒.๒ หนังสือที่มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าดี
              ๒.๓ หนังสือที่ได้รับรางวัลสำคัญ ๆ ในการประกวดขององค์กรที่มีคุณภาพ
              ๒.๔ หนังสือซึ่งเขียนโดยนักเขียนที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของแวดวงนักอ่าน
              ๒.๕ หนังสือที่มีคุณค่าดีพร้อมทุกด้าน  ได้แก่  ด้านเนื้อหา  ด้านความคิด  ด้านกลวิธี  ด้านทางภาษา  ด้านรูปแบบและการนำเสนอ
              ๒.๖ หนังสือที่ได้รับการยอมรับศึกษาสืบทอดกันมาทุกยุคทุกสมัย
              ๒.๗ เลือกหนังสือที่จะไม่โน้มนำไปในทางเสื่อมทั้งปวง
(ศิวกานท์  ปทุมสูติ๒๕๔๐หน้า  ๑๙ - ๒๐)

แบบที่ ๓ ตามประเภทของหนังสือ
        ๑.ประเภทให้ความรู้ เป็นหนังสือที่มีเนี้อหาเกี่ยวกับความรู้ในเรื่องต่าง ๆ เช่น หนังสือเรียน หนังสืออ้างอิง หนังสือรวมบทความ
        ๒.ประเภทให้ความบันเทิง เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาให้ความเพลิดเพลิน เช่น หนังสือนิทาน หนังสือ นวนิยาย หนังสือการ์ตูน


https://sites.google.com/site/wichaphasathiyp2/kar-leuxk-hnangsux

การเขียนย่อความ

                                                 การเขียนย่อความ
หลักในการเขียนย่อความ ดังนี้
          ๑. อ่านเรื่องที่จะย่อความให้จบอย่างน้อย ๒ ครั้ง เพื่อให้ทราบว่าเรื่องนั้นกล่าวถึงใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร และผลเป็นอย่างไร
          ๒. บันทึกใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน เเล้วนำมาเขียนเรียบเรียงใหม่ด้วยสำนวนของตนเอง
          ๓. อ่านทบทวนใจความสำคัญที่เขียนเรียบเรียงแล้ว จากนั้นแก้ไขให้สมบูรณ์ โดยตัดข้อความที่ซ้ำซ้อนกันออก เพื่อให้เนื้อหากระชับ และเชื่อมข้อความให้สัมพันธ์กันตั้งเเต่ต้นจนจบ
          ๔. เขียนย่อความให้สมบูรณ์ โดยเขียนแบบขึ้นต้นของย่อความตามรูปแบบของประเภทข้อความนั้น ๆ เช่น การย่อนิทาน การย่อบทความ
          ๕. การเขียนย่อความไม่นิยมใช้สรรพยามบุรุษที่ ๑ และสรรพนามบุรุษที่ ๒ คือ ฉัน คุณ ท่าน แต่จะใช้สรรพนามบุรุษที่ ๓ เช่น เขา และไม่เขียนโดยใช้อักษรย่อ นอกจากนี้ หากมีการใช้คำราชาศัพท์ต้องเขียนให้ถูกต้อง ไม่ควรตัดทอน

รูปแบบการเขียนย่อความ
๑. การย่อนิทาน นิยาย พงศาวดาร ให้บอกประเภท ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ที่มาของเรื่องเท่าที่ทราบ เช่น


 
ย่อนิทานเรื่อง.....................................ของ.........................................................จาก.............................................
ความว่า.................................................................................................................................................................

๒. ย่อคำสอน คำกล่าวปาฐกถา ให้บอกประเภท ชื่อเรื่อง เจ้าของเรื่อง ผู้ฟัง สถานที่ และเวลาเท่าที่จะทราบได้ เช่น
ย่อคำสอนเรื่อง.....................................ของ.......................................................จาก.............................................
หน้า..................................................................................ความว่า.......................................................................

๓. การเขียนบทความทางวิชาการ ให้บอกประเภท ชื่อเรื่อง เจ้าของเรื่อง ที่มาของเรื่อง เช่น

ย่อบทความเรื่อง.....................................ของ......................................................จาก..........................................
ฉบับที่..................................................................................หน้า.....................................ความว่า.....................
๔. ย่อบันทึกเหตุการณ์(จดหมายเหตุ)
ย่อบันทึก(จดหมายเหตุ).....................................ของ........................................ในโอกาส...................................
ฉบับที่...............................................................................เรื่อง........................................ความว่า.....................
๕. การเขียนย่อข่าว เช่น

ย่อข่าวเรื่อง................................................................... จากหนังสือพิมพ์........................................................
ฉบับวันที่.........................................................................................................................ความว่า.....................

การบันทึกความรู้

การบันทึกความรู้

          บันทึกความรู้  คือ  ข้อความที่จดบันทึกจากการอ่าน  การฟัง  หรือการดูสิ่งที่เป็นความรู้  เพื่อช่วยเตือนความจำหรือเก็บเป็นข้อมูลไว้อ้างอิงในงานเขียนหรือในโอกาสต่อไป
          วิธีการบันทึกข้อมูลจากการอ่าน  มีขั้นตอนดังนี้
๑.      ส่วนที่ ๑  ให้บันทึกหัวข้อเรื่อง, ชื่อหนังสือ, ผู้เขียน, หมายเลขหน้าของหนังสือ  และแหล่งที่มา  
(ถ้าบันทึกจากการฟังหรือการดู  ให้บันทึกวันที่, หัวข้อเรื่อง, ชื่อผู้บรรยาย  และสถานที่)

หัวข้อเรื่อง : …………………………………….………………………………………………………………………..
จากหนังสือ : ……………………………………………………………………………………………………………..
ผู้แต่ง : …………………………………………….………………………………………………………………………..
สำนักพิมพ์ :  ……………………………………………………………………………………………………………..
ปีที่พิมพ์…………….…………………………………………………………………………………………………..
หน้า : ………………………………………………………………………………………………………………………..
วันที่บันทึก : ……………………………..………………………………………………………..……………………..


 


๒.      ส่วนที่ ๒ บันทึกสาระสำคัญที่เป็นความรู้ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
          ๒.๑) ทำความเข้าใจเรื่องที่จดบันทึกให้ท่องแท้
          ๒.๒) บันทึกเฉพาะส่วนสำคัญ เช่น ใคร  ทำอะไร  ที่ไหน  เมื่อไร  อย่างไร
          ๒.๓) เรียบเรียงความคิด  ลำดับเรื่องหรือเหตุการณ์ก่อนหลัง  เพื่อไม่ให้สับสน
          ๒.๔) ใช้อักษรย่อในการบันทึกเพื่อความรวดเร็ว เช่น ชั่วโมง – ชม., โรงเรียน – รร.
          ๒.๕) ใช้สำนวนของตนเองเป็นภาษาที่เข้าใจง่ายกระชับ


          ตัวอย่างการเขียนบันทึกความรู้
   ตัวอย่างที่ ๑

หัวข้อเรื่อง : ทำความเข้าใจกับโรคเอดส์
จากหนังสือ : หนังสือเรียน  รายวิชาพื้นฐานภาษาไทย  ชุด  ภาษาเพื่อชีวิต  ภาษาพาที  ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔         กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ผู้แต่ง : กระทรวงศึกษาธิการ
สำนักพิมพ์ :  องค์การค้าของ สกสค.
ปีที่พิมพ์๒๕๕๙
หน้า : ๑๓๓ – ๑๓๔
วันที่บันทึก : ๓๑  ตุลาคม ๒๕๕๐
          เมื่อเชื้อไวรัสเอดส์ (H I V)  เข้าสู่ร่างกายจะฟักตัวนาน ๑ ปี  - ๑๐ ปี หรือมากกว่า  ระยะที่เป็นจะไม่ปรากฏอาการ  เมื่อเป็นมาก ๆ ภูมิคุมกันร่างกายจะเสื่อมลง ๆ ติดเชื้อโรคง่าย โรคที่มักเป็นเช่น เชื้อราในปาก  โรคปอดอักเสบ  ฯลฯ
          เราไม่ควรรังเกียจผู้ป่วยโรคนี้  แต่ควรดูแลตัวเองให้ปลอดภัย  ไม่ให้ติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์  ทางเลือด        การตรวจเลือดจะทำให้ทราบว่าเป็นโรคนี้หรือไม่



 
   ตัวอย่างที่ ๒

หัวข้อเรื่อง : วิธีกำจัดยุงลาย
จากหนังสือ : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ  ฉบับวันที่  ๒๐  พฤษภาคม  ๒๕๕๐ 
วันที่บันทึก : ๒๑  พฤษภาคม ๒๕๕๐
          ยุงลายเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก  มักเกิดกับเด็ก ๆ ถ้าไม่อยากเป็นไข้เลือดออก  ต้องทำลายแหล่งที่เกิดลูกน้ำยุงลายหรือขจัดแหล่งน้ำที่ขัง  เทน้ำที่ขังอยู่ภายในภาชนะต่าง ๆ ปิดฝาตุ่มน้ำเปลี่ยนน้ำในแจกันดอกไม่บ่อย ๆ
ข้อคิดหรือประโยชน์ที่ได้รับ
          รู้จักวิธีกำจัดยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก



อ้างอิง :
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. ๒๕๕๙.  การบันทึกความรู้ หน้า ๑๖๙ - ๑๗๐.  กรุงเทพฯ :  องค์การค้า สกสค.
สุระ  ดามาพงษ์และคณะ. การบันทึกความรู้ หน้า ๑๙๔ - ๑๙๕.  กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช                                          

สื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การผันวรรณยุกต์

  สื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง การผันวรรณยุกต์ คู่มือการใช้สื่อ  https://fliphtml5.com/bookcase/pjonq ดาวน์โหลดสื่อได้ที่  https://...